วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

Passive voice

                                            หลักการใช้

        ประโยค (Sentence) คือข้อความที่เอ่ยมาแล้วเข้าใจได้กระจ่างชัดว่า ประธาน แสดง กริยา อะไร เมื่อใด ถ้ากริยานั้นต้องมีกรรม (Transitive Verb) ก็ต้องมีกรรมระบุในประโยคด้วย เช่น
เขา เดิน
He walked
เขา เป็นประธาน (Subject)
เดิน เป็นกริยาไม่ต้องการกรรม (Intransitive Verb) เป็นอดีตกาล (Past tense)
เรา กิน มันฝรั่ง
We eat potatoes
เรา เป็นประธาน (Subject)
กิน เป็นกริยาต้องมีกรรม (Transitive Verb) เป็นปัจจุบันกาล (Present Tense)
ทั้ง 2 ประโยคข้างต้นนี้ มีประธานเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น (แต่จะอยู่ในรูป tense อย่างใด ก็สุดแท้แต่เวลาที่ต้องการบ่งชี้) เราเรียกโครงสร้างของประโยคชนิดนี้ว่า กรรตุวาจก (Active Voice) ลองสังเกตประโยคต่อไปนี้ดูบ้าง อ่านเพิ่มเติม



so and neither

  หลักการง่าย ๆ ของการใช้ so กับ neither ก็มีดังนี้ค่ะ
      ถ้า ประโยคแรก เป็น ประโยคบอกเล่า ประโยคที่สองที่ตามมาให้ใช้ so
ถ้า ประโยคแรก เป็น ประโยคปฏิเสธ (มี not หรือมี n’t อยู่) ประโยคที่สองที่ตามมาให้ใช้ neither
รูปแบบการใช้ so หรือ neither ก็คือ
So + Verb ช่วย + ประธาน(ใช่ค่ะ รูปแบบแบบนี้ ประธานจะอยู่ท้ายประโยค)
Neither + Verb ช่วย + ประธาน
ดังนั้น Verb ช่วย ที่จะเอามาใช้ จะต้องผันตามประธาน เช่น ถ้าใช้เป็น Verb to do ก็จะเป็น does ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ และก็จะใช้ do ถ้าประธานเป็นพหูพจน์
*** สังเกต Verb ช่วย ที่ตามหลัง so กับ neither นั้น ไม่มีอยู่ในรูปปฏิเสธ
ถ้าใน ประโยคแรกใช้ Verb ทั่วไป และ อ่านเพิ่มเติม



Phrasal Verbs

                    Phrasal verbs หรือ two-word verbs
           คือ การใช้คำกริยาที่ปกติแล้วมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ส่วนประกอบ เมื่อ verb+ preposition or particle มารวมกันเป็น Phrasal verbs แล้ว อาจจะทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้นมาซึ่งอาจจะไม่มีเค้าความหมายของคำกริยาเดิมเลย นิยมใช้กันมากในภาษาอังกฤษ
หลักสำคัญในการใช้ Phrasal Verbs หรือ Two-Word Verbs
1.เมื่อไม่มี direct object ต้องวาง adverb ไว้ติดกับ verb เช่น
   - please come in.
   - Don't give up, whatever happens.

2. เมื่อมี object pronoun เช่น him, her, it, them, me, us, เป็น direct object ต้องวาง object เหล่านี้ไว้หน้า adverb เช่น
   - I can't make it out. (right)
   - I can't make out it.(wrong)

3. เมื่อมี noun เช่น book , pen , houses , etc.เป็น direct object จะวาง noun ไว้หน้าหรือหลัง adverb ก็ได้        (verb +adverb +noun) หรือ (verb +noun +adverb) เช่น
   - Turn on the light.  หรือ  - Turn the light on.

4. ตามข้อ 3 ถ้า object เป็นคำยาว เช่นมี object clause ขยายต้องวางobject ไว้หลัง adverb เช่น
   - He gave away every book that he possesed. (right)
   - He gave every book that he possesed away. (wrong)

5. ในประโยคอุทาน (exclamatory Sentences)ให้วาง adverb ไว้หน้าประโยคยืดหลักดังนี้
   5.1 ถ้าประธานเป็น noun เอากริยาตามมาได้เลย เช่น
      -Off went john! = John went off.
   5.2 ถ้าประธานเป็น pronoun ใหัใช้แต่ adverb ไม่ต้องใช้ verb เช่น
      -Away they went ! = They went away.
ประเภทของ Phrasal verbs อ่านเพิ่มเติม






direct and indirect speech

         หลักการใช้ DIRECT & INDIRECT SPEECHในภาษาอังกฤษ
         
               ในบางครั้ง เรามีความจำเป็นต้องยกคำพูดของบางคนขึ้นมา หากเป็นการยกมาตรงๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างใดๆ เราเรียกว่า Direct Speech (ไดเร็กทฺ สปีช) หรือบางคนเรียกว่า Quoted Speech (โควทิด สปีช) แต่หากเป็นการยกโดยมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้าง หรือโดยอ้อม เราเรียกว่า Indirect Speech (อินไดเร็กทฺ สปีช) หรือบางคนเรียกว่า Reported Speech (ริพอทิด สปีช)
ข้อสังเกตของ Direct Speech คือ คำพูดดังกล่าวของบุคคลนั้น จะอยู่ภายในเครื่องหมายคำพูดที่เรียกว่า Quotation marks (โควเทเชิ่น มาคสฺ)
ตัวอย่าง คำพูดของบุคคลต่อไปนี้
Jane.       My brother is a student.
Mary.       So is mine. He’s studying at Trium Udom School.
Where’s your brother studying?
ลักษณะโครงสร้างแบบ Direct/Quoted Speech อาจจะเป็น ดังนี้ก็ได้ คือ
(1)     Jane said, “My brother is a student.”
Mary said, “So is mine. He’s studying at Trium Udom School.”
หรืออาจจะยกคำพูดของบุคคลนั้นขึ้นมาก่อน แล้วจึงบอกว่าใคร เป็นผู้พูดเช่นนั้น ดังนี้
(2)     “My brother is a student,” Jane said.
“So is mine. He’s studying at Trium Udom School,”
Mary said.
ข้อสังเกต ใน (1) ลักษณะโครงสร้างของ Direct/Quoted Speech เป็นดังนี้
1.1 ใส่ comma หลัง said เช่น  อ่านเพิ่มเติม





12 tense

                                                 Tense

Tense   คือรูปแบบ(หรือโครงสร้าง)ของกริยา  ที่แสดงให้เราทราบว่า  การกระทำหรือเหตุการ นั้นๆเกิดขึ้นเมื่อใด   ซึ่งเรื่อง  tense  นี้เป็นเรื่องสำคัญ  ถ้าเราใช้    tense  ไม่ถูก  เราก็จะสื่อภาษากับเขา ไม่ได้  เพราะในประโยคภาษาอังกฤษนั้นจะอยู่ในรูปของ  tense  เสมอ  ซึ่งต่างกับภาษาไทยที่เราจะมีข้อความบอกว่าาเกิดขึ้นเมื่อใดมาช่วยเสมอ   แต่ภาษาอังกฤษจะใช้รูป  tense  นี้มาเป็นตัวบอก  ดังนี้การศึกษาเรื่อง  tense  จึงเป็นเรื่องจำ เป็น.

Tense  ในภาษาอังกฤษนี้จะแบ่ง ออกเป็น  3  tense  ใหญ่ๆคือ

               1.     Present   tense        ปัจจุบัน

               2.     Past   tense              อดีตกาล

               3.     Future   tense          อนาคตกาล

ในแต่ละ  tense ยังแยกย่อยได้  tense  ละ  4  คือ

              1 .   Simple   tense    ธรรมดา(ง่ายๆตรงๆไม่ซับซ้อน).

              2.    Continuous  tense    กำลังกระทำอยู่(กำลังเกิดอยู่)

              3.     Perfect  tense     สมบูรณ์(ทำเรียบร้อยแล้ว).

              4.     Perfect  continuous  tense  สมบูรณ์กำลังกระทำ(ทำเรียบร้อยแล้วและกำลัง ดำเนินอยู่ด้วย).

                                       โครงสร้างของ  Tense  ทั้ง  12  มีดังนี้

Present  Tense

                      [1.1]   S  +  Verb  1  +  ……(บอกความจริงที่เกิดขึ้นง่ายๆ ตรงๆไม่ซับซ้อน).

[Present]       [1.2]   S  +  is, am, are  +  Verb  1  ing   +  …(บอกว่าเดี๋ยวนี้กำลังเกิดอะไร อยู่).

                      [1.3]   S  +  has, have  +  Verb  3 +  ….(บอกว่าได้ทำมาแล้วจนถึง ปัจจุบัน).

                      [1.4]   S  +  has, have  +  been  +  Verb 1 ing  + …(บอกว่าได้ทำมาแล้วและกำลังทำ ต่อไปอีก).  อ่านเพิ่มเติม